Last updated: 27 ม.ค. 2566 | 610 จำนวนผู้เข้าชม |
เดิมการศึกษาต้นทุนของผู้ป่วยกลุ่มอาการออทิซึมสเปกตรัมในประเทศไทยที่ผ่านมายังมีข้อจำกัดด้านความสมบูรณ์ของข้อมูลและความครอบคลุมของประเภทต้นทุน จากการศึกษาเรื่อง "การศึกษาต้นทุนของกลุ่มอาการออทิซึมสเปกตรัมโดยการเก็บข้อมูลแบบไปข้างหน้า ณ โรงพยาบาลยุวประสาทไวทโยปถัมภ์" สุ่มตัวอย่างเพื่อสัมภาษณ์ผู้ดูแล และเก็บข้อมูลจากเวชระเบียนของผู้ป่วยกลุ่มอาการออทิซึมสเปกตรัม อายุ 3 - 18 ปี เก็บข้อมูลแบบไปข้างหน้าเป็นระยะเวลา 3 ปี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2560 - 2562 วิเคราะห์ต้นทุน 3 ด้าน ได้แก่ ต้นทุนทางตรงทางการแพทย์ ต้นทุนทางตรงที่ไม่ใช่ทางการแพทย์ และต้นทุนทางอ้อมจากการไม่สามารถทำงานได้หรือการขาดงานของผู้ดูแล
พบว่า กลุ่มตัวอย่างจำนวน 147 คน มีต้นทุนรวมในการดูแลผู้ป่วยเฉลี่ย 313,624.1 บาทต่อคนต่อปี ต้นทุนที่มีมูลค่าสูงที่สุดในผู้ป่วยกลุ่มอาการออทิซึมสเปกตรัม ได้แก่ ต้นทุนทางตรงที่ไม่ใช่ทางการแพทย์ 245,374.8 บาทต่อปี (ร้อยละ 78.2) ผู้ป่วยเพศชายมีต้นทุนทางตรงทางการแพทย์และต้นทุนรวมมากกว่าเพศหญิง ผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยโรคในกลุ่มอาการออทิซึมสเปกตรัมต่างกันมีต้นทุนทางตรงทางการแพทย์แตกต่างกัน โดยผลการศึกษานี้สามารถเป็นแนวทางในการวางแผนงบประมาณและการจัดสวัสดิการสังคมสำหรับการดูแลผู้ป่วยกลุ่มอาการออทิซึมสเปกตรัมของประเทศไทย
อ่านเพิ่มเติมทาง : https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jmht/article/view/256446
#cite
กฤษฎาดนุเดช วงศ์เวชวิวัฒน์, ใจนุช กาญจนภู, สุวภาพ เตชะมหามณีรัตน์, พิธาน โฆษิตชัยวัฒน์, ธีรารัตน์ แทนขำ. การศึกษาต้นทุนของกลุ่มอาการออทิซึมสเปกตรัมโดยการเก็บข้อมูลแบบไปข้างหน้า ณ โรงพยาบาลยุวประสาทไวทโยปถัมภ์. วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย. 2565;30(3):264-75.
#วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย #ข่าวเผยแพร่วิชาการสุขภาพจิต