ผลวิจัยพบ ความชุกตลอดชีพของกลุ่มโรควิตกกังวลในคนไทยร้อยละ 3.1 โดยพบโรค agoraphobia บ่อยที่สุด

Last updated: 20 ธ.ค. 2565  |  2165 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ผลวิจัยพบ ความชุกตลอดชีพของกลุ่มโรควิตกกังวลในคนไทยร้อยละ 3.1 โดยพบโรค agoraphobia บ่อยที่สุด

ผลวิจัยพบ ความชุกตลอดชีพของกลุ่มโรควิตกกังวลในคนไทยร้อยละ 3.1 โดยพบโรค agoraphobia บ่อยที่สุด
.
เดิมในต่างประเทศพบว่า กลุ่มโรควิตกกังวลมีความชุกมากกว่ากลุ่มโรคจิตเวชอื่น ๆ พบได้สูงสุดร้อยละ 28.8 ส่วนในประเทศไทยกลุ่มโรควิตกกังวลพบความชุกต่ำและมีแนวโน้มเพิ่มเล็กน้อย แต่การสำรวจที่ผ่านมาไม่สามารถเปรียบเทียบกับต่างประเทศได้เนื่องจากใช้ระเบียบวิธีวิจัยและเครื่องมือแตกต่างกับนานาประเทศ การศึกษาเรื่อง "ระบาดวิทยากลุ่มโรควิตกกังวลในคนไทย : การสำรวจระบาดวิทยาสุขภาพจิตของคนไทยระดับชาติ พ.ศ. 2556" ใช้ข้อมูลจากการสำรวจระบาดวิทยาสุขภาพจิตของคนไทย พ.ศ. 2556 วินิจฉัยโรคทางจิตเวชด้วยเครื่องมือ WMH-CIDI ฉบับภาษาไทย ในประชากรอายุ 18 ปีขึ้นไปจำนวน 4,727 คน จากการสุ่มเพื่อเป็นตัวแทนประชากรทั้งประเทศ พบว่า ความชุกตลอดชีพของกลุ่มโรควิตกกังวลอย่างน้อยหนึ่งโรค พบร้อยละ 3.1 โดย agoraphobia พบบ่อยที่สุดร้อยละ 1.3 ผู้หญิงพบมากกว่าผู้ชาย ผู้มีโรคเรื้อรังทางกายและปัญหาการนอนพบความชุกของโรควิตกกังวลมากขึ้น โรคในกลุ่มโรควิตกกังวลที่พบร่วมกันมากที่สุด ได้แก่ panic disorder ร่วมกับ agoraphobia พบร้อยละ 6.5 ของผู้ป่วยกลุ่มโรควิตกกังวลทั้งหมด รองลงมา ได้แก่ PTSD ร่วมกับ agoraphobia ร้อยละ 2.4 และ panic disorder ร่วมกับ GAD ร้อยละ 1.0
.
แม้ความชุกตลอดชีพของกลุ่มโรควิตกกังวลในคนไทยพบได้น้อยกว่าต่างประเทศ แต่ผู้มีโรคในกลุ่มโรควิตกกังวลอย่างน้อยหนึ่งโรคมีโอกาสพบโรคในกลุ่มโรควิตกกังวลอื่น ๆ ร่วมค่อนข้างสูง ผู้ให้บริการสุขภาพจิตควรให้ความสำคัญกับการจัดบริการสำหรับผู้ป่วยกลุ่มโรควิตกกังวล โดยเฉพาะการคัดกรองสุขภาพกายและจิตใจ และการดูแลรักษาโรคร่วมในกลุ่มโรควิตกกังวล
.
อ่านเพิ่มเติมทาง : https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jmht/article/view/256405
.
#cite
ปทานนท์ ขวัญสนิท, วีร์ เมฆวิลัย, สุทธา สุปัญญา, วรวรรณ จุฑา, พันธุ์นภา กิตติรัตนไพบูลย์. ระบาดวิทยากลุ่มโรควิตกกังวลในคนไทย : การสำรวจระบาดวิทยาสุขภาพจิตของคนไทยระดับชาติ พ.ศ. 2556. วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย. 2565;30(3):237-49.
.
#วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย #ข่าวเผยแพร่วิชาการสุขภาพจิต

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้