ผลวิจัยพบ การขาดความพึงพอใจต่อการเปิดเผยอัตลักษณ์ทางเพศใน "นักศึกษาชายรักชาย" เกี่ยวข้องกับประสบการณ์การตีตราและกีดกันจากครอบครัวและเพื่อน

Last updated: 4 ก.ค. 2566  |  482 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ผลวิจัยพบ การขาดความพึงพอใจต่อการเปิดเผยอัตลักษณ์ทางเพศใน "นักศึกษาชายรักชาย" เกี่ยวข้องกับประสบการณ์การตีตราและกีดกันจากครอบครัวและเพื่อน

การตีตราและการกีดกันทางสังคมก่อให้เกิดผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตสุขภาพจิต และการเข้าถึงบริการสุขภาพของกลุ่มชายรักชาย แต่ข้อมูลเกี่ยวกับปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการขาดความพึงพอใจในชีวิตต่อการเปิดเผยอัตลักษณ์ทางเพศในนักศึกษาชายรักชายยังมีจำกัด จากการศึกษาเรื่อง "พฤติกรรมการใช้ชีวิต การตีตราและการกีดกันทางสังคม และความพึงพอใจในชีวิตต่อการเปิดเผยอัตลักษณ์ทางเพศของนักศึกษาชายรักชายในภาคเหนือ" โดยศึกษาภาคตัดขวางในกลุ่มนักศึกษาชายรักชายจากมหาวิทยาลัยในภาคเหนือ 145 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป พฤติกรรมการใช้ชีวิต ประสบการณ์ถูกตีตราและการรับรู้การกีดกันทางสังคม และความพึงพอใจในชีวิตต่อการเปิดเผยอัตลักษณ์ทางเพศ
.
พบว่า คุณลักษณะด้านอัตลักษณ์ทางเพศ พฤติกรรมใช้สารเสพติด ประสบการณ์ถูกคนในครอบครัวตำหนิหรือด่าทอเนื่องจากเป็นชายรักชาย ประสบการณ์ถูกเพื่อนพูดจาล้อเลียน เหยียดหยาม หรือพูดจาไม่สุภาพเนื่องจากเป็นชายรักชาย และการรู้สึกว่าคนทั่วไปมองว่าเป็นคนผิดปกติทางเพศ มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับการขาดความพึงพอใจในชีวิตต่อการเปิดเผยอัตลักษณ์ทางเพศ ทั้งนี้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรมีกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพจิตรวมทั้งสร้างแรงสนับสนุนทางสังคม เพื่อส่งเสริมให้นักศึกษาชายรักชายมีความพึงพอใจในชีวิตและสามารถปรับตัวเข้ากับสังคมได้
.
อ่านเพิ่มเติมทาง : https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jmht/article/view/261354
.
#cite
เอกสิทธิ์ ไชยปิน, เสกสรรค์ ทองติ๊บ. พฤติกรรมการใช้ชีวิต การตีตราและการกีดกันทางสังคม และความพึงพอใจในชีวิตต่อการเปิดเผยอัตลักษณ์ทางเพศของนักศึกษาชายรักชายในภาคเหนือ. วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย. 2566;31(2):106-20.

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้