Last updated: 24 ก.พ. 2566 | 733 จำนวนผู้เข้าชม |
ปัจจุบันประเทศไทยมีแบบคัดกรองความสามารถด้านการรู้คิดที่ผ่านการแปลมาจากต่างประเทศ แต่ยังไม่มีแบบคัดกรองที่สามารถประเมินผ่านการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ที่มีกระบวนการพัฒนาเพื่อคนไทยโดยตรง จากการศึกษาเรื่อง "การพัฒนาและทดสอบคุณสมบัติทางการวัดของแบบคัดกรองการรู้คิดทางโทรศัพท์ ฉบับภาษาไทย" ทำการพัฒนาและตรวจสอบดัชนีความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้เชี่ยวชาญ 5 คน ตรวจสอบคุณภาพของแบบคัดกรองในกลุ่มตัวอย่างอายุ 23 - 80 ปี จำนวน 45 คน ด้วยการทดสอบความเชื่อมั่นภายใน และทดสอบความเที่ยงตรงเชิงเหมือนโดยการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สันกับแบบประเมิน telephone Montreal cognitive assessment (Tele-MoCA) พบว่า แบบคัดกรอง Thai-TeBCOG จำนวน 13 ข้อ ใช้เวลาประเมินเฉลี่ย 15 นาทีต่อครั้ง มีความตรงเชิงเนื้อหาของแบบคัดกรองทั้งฉบับ (S-CVI) เท่ากับ 0.88 มีความเที่ยงจากความสอดคล้องภายใน (Cronbach’s alpha coefficient) เท่ากับ 0.83 และมีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับปานกลางอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับผลคะแนน Tele-MoCA (r = .61, p < .001) จึงสามารถใช้เป็นแบบประเมินทางโทรศัพท์เพื่อคัดกรองความสามารถด้านการรู้คิดทางโทรของคนไทยโดยเฉพาะ ภายใต้บริบทที่มีข้อจำกัดด้านในการเดินทางและในสถานการณ์ที่ต้องมีการเว้นระยะห่างทางสังคม
.
อ่านเพิ่มเติมทาง : https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jmht/article/view/257525
.
#cite
นนทิชา ถาวรไพบูลย์บุตร, วัฒนารี อัมมวรรธน์, กีรติ อ้นมั่น, อัฐพล อัฐนาค, ฐิติยา วังกาวรรณ์, สิรวิชญ์ วงศ์อุดมมงคล, และคณะ. การพัฒนาและทดสอบคุณสมบัติทางการวัดของแบบคัดกรองการรู้คิดทางโทรศัพท์ ฉบับภาษาไทย. วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย. 2565;30(4):286-96.
.
#วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย #ข่าวเผยแพร่วิชาการสุขภาพจิต